***** ข อ ข อ บ คุ ณ ทุ ก ท่ า น ที่ เ ข้ า ม า รั บ ช ม สิ น ค้ า ค รั บ*****..............{ ติ ด ต่ อ ส อ บ ถ า ม สิ น ค้ า ไ ด้ ที่ ห ม า ย เ ล ข 0 9 2 5 3 5 2 9 6 5 }
คุณได้เข้ามาเป็นเวลา

วินาทีแระนะ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติ มีดหมอหลวงพ่อเดิม

ภาพตัวอย่าง


“มีดหมอหลวงพ่อเดิม” หลวงพ่อเดิมท่านสร้างมีดหมอ ตามตำราหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ซึ่งหลวงพ่อเทศ ท่านได้รับสร้างขึ้นตามตำราของหลวงขำ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ตำราเล่มนี้หลวงพ่อเดิม ท่านเรียนมาพร้อมหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล เหตุที่หลวงพ่อเดิม ท่านสร้างมีดหมอเพื่อสำหรับพกติดตัวเพราะสมัยก่อนมีบุคคลประพฤติตัวเป็นอันธพาลมีวิชาอาคมต่างๆท่าจึงทำออกมาเพื่อให้ลูกศิษย์และคนต่างๆไว้ป้องกันตัวส่วนผสมที่สำคัญของมีดหมอคือ- 1. ตะปูสังขวานร เป็นตะกั่วอ่อนที่ยึดเครื่องไม้ในอุโบสถแทนตะปูเนื้ออ่อนมากหักงอได้ว่ายเมื่อหลวงพ่อไปสร้างอุโบสถใหม่รื้อของเก่าออกก็เก็บตะปูสังขวานรนี้มา เพราะโบราณถือว่าได้ผ่านการสวดพระปาฏิโมกข์เป็นประจำ เป็นวัตถุอาถรรพณ์อย่างหนึ่ง 2. ตะปูโลงผี ที่สัปเหร่อเผาแล้วเก็บเอาไว้ พร้อมกับเหล็กทิ่มผี เขาจะนำมามอบให้กับหลวงพ่อไว้ทำมีดหมอ 3. บาตรแตกชำรุด ถือเป็นอาถรรพณ์วัตถุอย่างหนึ่งหลวงพ่อจะลงอักขระแทนแผ่นยันต์ 4. เหล็กน้ำพี้ เป็นเหล็กที่ดีที่สุดในสมัยโบราณ ใช้ทำดาบออกศึก ส่วนผสมที่กล่าวมานี้หลวงพ่อจะส่งให้ช่างตีมีดหลอม ผสมกับเหล็กของช่างตีมีดเมื่อตีออกมาแล้วให้หลวงพ่อกำกับพระเวทย์ ดังนั้นในมีดหมอของหลวงพ่อจึงมีส่วนผสมนี้ทุกเล่มหลังจากนั้นส่งไปทำด้ามแล้วส่งกลับมาที่วัดนำอิทธิวัสดุที่หลวงพ่อกำหนดใส่ด้ามมีดดังนี้ 1. ผงอิทธิเจ หลวงพ่อลงผงอิทธิเจเอง ปลุกเสกจนดีแล้ว ดีทางคงกระพันและภูตผีปีศาจคร้ามเกรง 2. เส้นเกษา(ผม) ของหลวงพ่อที่ปลงในวันขึ้น 15 ค่ำ แล้วรวบรวมไว้ 3. ตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดนี้ไม่ได้ม้วน เป็นแผ่นเงิน ทอง นาก ลงอักขระเล็ก ว่าๆ อุทธัง อัทโธ ตัดพอดีกับความยาวของสันมีดเมื่อบรรจุวัสดุเหล่านี้เสร็จจึงปิดด้ามด้วยครั่ง ผสมกวาพิเศษ แล้วจึงปลุกเสกต่อไป ช่างตีมีดของหลวงพ่อที่ขึ้นรูป ได้สวย มี 2 คน คือ ช่างฉิมบ้านโคกไม้เดน และช่างไข่ อยู่ที่พยุหะศีรี และฝีมือของช่างทั้งสองมีข้อแตกต่างดังนี้- 1. ช่างฉิม ใบมีดของ ช่างฉิม นั้นตีได้อ่อนช้อย รูปลักษณะทั่วไปเรียกว่ารูปปลาหมอ คือตรงโคนที่ติดกันกั่นจะขนานกันและบานออกตรงส่วนที่ออกไปทางปลายโค้งแล้วเรียวเข้าหากัน ปลายมีดปลายโค้งงอนขึ้น ปลายแหลมคล้ายปากปลาหมอ โค้งขึ้นด้านบน 1.1 ลายเสมาใบโพธิ์ ตอนล่างที่ติดกับกั่นนั้นจะเป็นใบเล็ก และแกะกนกยาว กว่าช่างไข่ 1.2 ลายคุมสันมีด คือลายร่องเลือด(สำหรับมีดที่ต้องทำลายร่อง เพราะเวลาแทงแล้วจะได้ชักมีดออกได้สะดวก) และเพื่อความสวยงาม ลายนี้ของช่างฉิม อยู่ห่างสันมีดมากกว่าช่างไข่ ปลายร่องนั้นจะมีลักษณะดอกไม้บาน สวยงามมาก 1.3 สันมีดของช่างฉิมจะตีมีดให้เป็นสันปลาหมอ กล่าวคือให้ดูครีบหลังของปลาหมอว่าจะเป็นสัน นั่นคือเป็นการเปรียบเทียบสันปลาหมอให้เข้าใจง่ายขึ้น ให้ดูที่สันมีด ตอนปลายมีดของช่างฉิมจะเอียงจากด้านข้างทั้งสองข้างเข้าหาตรงกลาง ทำให้เกิดเป็นเส้นทิว เล็กๆบางๆ ขึ้นเป็นสัน จึงเรียกว่าสันปลาหมอ ของปลอมถึงทำได้ก็หนาปึก และจงใจทำ รูปแบบดังกล่าวนี้ช่างฉิม แกเป็นผู้คิดค้นขึ้นเอง และทำเลียนแบบได้ยากมาก 2. ช่างไข่ ใบมีดของช่างไข่นั้นตีขนานกันตั้งแต่โคนมีดตรงกันจนถึงปลายมีด หากพิจารณาดูแล้ว จะไม่ได้ป้องออกเหมือนมีดของช่างฉิม ปลายมีดของช่างไข่งอนขึ้นมากกว่าช่างฉิม ลักษณะคล้ายปลีกล้วย 2.1 ลายเสมาใบโพธิ์ ตอนล่างที่ติดกับกั่นนั้น ของช่างไข่จะโตกว่าช่างฉิม เกือบเต็มใบทีเดียว ลวดลายละเอียดกว่าช่างฉิม 2.2 ลายคุมสันมีด จะอยู่เกือบติดสันมีด ตอนปลายจะหยาบกว่าช่างฉิม ไม่เหมือนดอกไม้บาน 2.3 สันมีดของช่างไข่เป็นเส้นขนานธรรมดา ซึ่งแยกเด็ดขาดออกจากช่างฉิมและสันมีดของช่างไข่จะหนากว่าของ ช่างฉิม ฉะนั้นของฝีมือที่ออกอาละวาดอยู่ในตลาดขณะนี้ จึงมักทำปลอมมีดของช่างไข่มากกว่า ช่างฉิม 3. มีดหมอของหลวงพ่อเดิม แบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน ดังนี้ 3.1 ยุคต้น ยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอนลงตัว ฉะนั้นผู้ที่ต้องการมีดต่างคนต่างออกแบบกันขึ้นมาเอง แล้วจึงให้ช่างเหล็กตีให้ เสร็จแล้วก็ทำปลอกมีดให้พอดีกับมีด แล้วจึงนำไปให้หลวงพ่อเดิมท่านปลุกเสกให้ แต่เท่าที่เคยพบเห็นส่วนใหญ่จะมีลักษณะ ด้ามไม้ ฝักไม้ ปลอกมีดมักจะทำด้วยเหล็ก โลหะ โรปิเนียม ทองเหลือง ดีบุกก็มี ส่วนแหมรัดฝักมีด ก็ใช้โละชนิดเดียวกัน แต่บางครั้งเคยพบถักด้วยหวาย เก้าเส้น เจ็ดเส้น ลักษณะการขึ้นหวายสวยงามมาก แต่ก็พบน้อยมาก 3.2 ยุคกลาง กล่าวคือได้มีการพัฒนามาจากยุคต้น ซึ่งในยุคนี้มีดหมอได้มีลักษณะค่อนข้างลงตัวมากขึ้น 3.3 ยุคปลาย เป็นยุคที่ประชาชนมีความต้องการมีดหมอของหลวงพ่อเดิมมากขึ้น เมื่อมีความต้องการเช่าหาจำนวนมาก กรรมการวัดหนองโพจึงได้ไปติดต่อว่าจ้างช่างที่พยุหะคีรีให้ทำการตีมีดส่งมาที่วัดหนองโพ ซึ่งช่างที่ทำมีดในยุคนี้มี ช่างฉิม ช่างไข่ ช่างสอน และช่างแม้น 3.3.1 ช่วงแรก ใบมีดจะเป็นรูปนาคสมพงษ์หรือลายนาคเกี้ยว 3.3.2 ช่วงกลาง การแกะสลักลายบนใบมีด มักนิยมลายในเสมา 3.3.3 ช่วงปลาย การแกะสลักบนใบมีดได้พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ เป็นลายเทพพนม ลายน่องสิงห์ ลายกนกผีเสื้อ ซึ่งมีปากกาที่นิยม กันในยุคปัจจุบันนี้ก็อยู่ยุคปลายเช่นกัน 4. วิธีใช้มีดหมอของหลวงพ่อเดิม 4.1 ป้องกันคุณไสย เวลาพกติดตัวไม่ต้องกลัวถูกระทำย่ำยี 4.2 ป้องกันศัตรูหมู่มารร้าย เป็นมหาอำนาจ เมตตา แคล้วคลาด และมหาอุตม์ 4.3 ขับภูตผีปีศาจ ที่เข้าสิงคนธรรมดา หรือมีผู้ปล่อยมาเข้าสิง 4.4 อาราธนาแก้คุณไสย หรือแก้เสนียดจัญไรต่างๆตลอดจนฝันร้าย 4.5 แก้อาถรรพณ์ความคงกระพันต่างๆของคู่ต่อสู้ 4.6 ด้ามงานั้น อาราธนาฝนกันฝาละมีหม้อดินด้วยน้ำล้างใบมีด แก้พิษสัตว์กัดต่อย 4.7 ป้องกันอสรพิษ สัตว์ที่มีพิษต่างๆ 4.8 มีดหมอของหลวงพ่อเดิม ไม่ทำอันตรายลูกศิษย์สำนักเดียวกัน 4.9 บูชาไว้กับบ้านป้องกันอัคคีภัย และโจรผู้ร้าย จะรู้ตัวก่อนถ้าภัยมา 4.10 เมื่อไปต่างถิ่นหรือต่างบ้าน หรือนอนกลางป่า ให้เอามีดหมอของหลวงพ่อขีด ขมาต่อแม่ธรณี ขีดไปรอบๆตัว จะไม่มีสิ่งใดเข้ามาทำอันตรายได้เลย 4.11 หากเดินทางน้ำ กลัวอันตรายจะมี ให้คาบมีดไว้ในปาก หรือเอามีดโบกน้ำนำหน้าไปจะปลอดภัย 4.12 เมื่อไปต่างถิ่น จะกินอาหาร แต่ไม่แน่ใจว่ามีพิษหรือไม่ ให้ใช้ด้ามมีดจุ่มลงในอาหาร ถ้ามีพิษงาจะเป็นสีดำ ถ้าเผลอกินอาหารเข้าไปแล้ว ให้เอามีดออกจากฝัก แกว่งลงในแก้วน้ำกิน ทำให้ทุเลาหาหมอได้ทัน 4.13 เมื่อฝีร้ายมีอาการกลัดหนอง เอปลายมีด วนเป็นวงกลมเบาๆรอบหัวฝี ระลึกถึงหลวงพ่อก็จะหาย 4.14 เมื่อถูกคุณ(ลมเพลมพัด) ให้เอามีดของหลวงพ่อทำน้ำมนต์กินเข้าไป แล้วเอาปลายมีดไล่ก้อนที่บวมนั้น ถ้าเป็นคุณที่ถูกปล่อยมาจะหนีมีดหลวงพ่อ ถ้าไม่ มีอาการอะไร ก็แสดงว่าว่าบวมตามธรรมชาติ 5. ข้อห้ามประจำของมีดหมอหลวงพ่อเดิม 5.1 ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น 5.2 ห้ามนำมีดไปใช้ในทางที่ผิด เช่นรังแกคนอื่น หรือปล้นฆ่าก่อความเดือดร้อน 5.3 อย่าเป็นชู้กับเมียคนอื่น 5.4 ถ้าไม่จำเป็นอย่าให้สตรีที่รอบเดือนถูกมีดของหลวงพ่อ เพราะเส้นเกศาและผงอิทธิเจเป็นปรปักษ์กับของต่ำอย่างแรง 5.5 ห้ามทำร้ายศิษย์สำนักเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น